ช่างเย็บของเรา

เราทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับกลุ่มช่างเย็บผ้าที่บ้าน พวกเราฝึกอบรมและควบคุมรูปแบบการเย็บทุกขั้นตอนเพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าของลูกค้าจะได้รับความประณีต โดยเรามีเป้าหมายในการส่งเสริมอาชีพให้กับ กลุ่มแม่ๆที่เย็บผ้าที่บ้านมีงานทำ มีทักษะฝีมือที่มีคุณภาพ ได้รับเงินค่าจ้างที่เหมาะสมและได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ดี

_JPG.jpg)
ช่างเย็บผ้าส่วนใหญ่ของเราจะได้รับเงินต่อชิ้น ซึ่งจะทำให้เราสามารถควบคุมคุณภาพการเย็บได้และพัฒนาฝีมือของช่างของเราให้สอดคล้องกันกับค่าจ้างที่เขาได้รับ นอกจากนี้เรายังได้แบ่งเงินส่วนหนึ่งจากยอดขายไว้เพื่อเป็นกองทุนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงการพัฒนาฝีมือและทักษะให้กับช่างเย็บผ้าในเครือข่ายของพวกเราด้วย
กลุ่มคนไร้สัญชาติ “ม้ง”
เราทำงานร่วมกันกับชุมชนม้งที่อาศัยอยู่ในเมืองกรุงเทพฯ ชาวม้งเป็นชาติพันธ์ที่เชี่ยวชาญในการปักผ้ามานานแล้ว เพราะมันเป็นวิถีชีวิตและเรื่องราวทางวัฒนธรรมของหญิงชาวม้งที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่น ผู้หญิงม้งทุกคนจะต้องเย็บผ้าเป็น เพราะต้องปักผ้าใส่เองและให้สามีกับลูกชายด้วย แต่ความรู้นี่กำลังหดหายไปเมื่อพวกเขาต้องจากบ้านเกิดมาอยู่ในฐานะผู้ลี้ภัย การใช้ชีวิตโดยไม่มีสัญชาติทำให้เขาต้องให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องของตนเองและครอบครัวมากกว่าการรักษาวัฒนธรรมความรู้ของบรรพบุรุษตน


แม้ว่าการทำงานกับชุมชนลี้ภัยจะเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ความตั้งใจและทัศนคติที่เปิดรับสิ่งใหม่ๆของแม่ๆชาวม้งที่เราสังเกตุเห็นจากการเข้าไปฝึกสอนในชุมชน ทำให้เราอยากที่จะให้พวกเขาเป็นชุมชนช่างเย็บกลุ่มแรกของ Reviv (และเราต้องขอขอบคุณที่พวกเขาให้โอกาสนั้น) เรามีความตั้งใจที่ใช้ทักษะการปักเย็บผ้าของแม่ๆสร้างอาชีพเสริมให้กับพวกเขาในขณะที่ต้องดูแลครอบครัวหรือภารกิจอื่นๆในบ้านไปด้วย เป้าหมายของเราคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับแม่ๆชาวม้งผ่านการให้ค่าจ้างที่เหมาะสมและการจัดสรรกองทุนเพื่อสังคมให้กับพวกเขา พร้อมๆกับช่วยสืบสานวัฒนธรรมอันเก่าแก่ผ่านการออกแบบผ้าและลายใหม่ๆร่วมกัน
กลุ่มเครือข่ายแรงงานนอกระบบ

ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแรงงานเย็บผ้าที่บ้านจำนวนมาก ที่ส่วนหนึ่งก็มีทักษะการเย็บผ้าจากโรงงานเสื้อผ้าจำนวนมากที่ย้ายฐานการผลิตไปแล้วในอดีต ซึ่งปัจจุบันทักษะการเย็บก็ถดถอยลงเนื่องจากต้องหารายได้ด้วยการทำงานแบบ Sub-Contract เย็บเสื้อผ้าราคาถูก (เย็บผ้าโหล) ที่เน้นจำนวนชิ้นงาน เราทำงานร่วมกันกับเครือข่ายคนเย็บผ้า เพื่อทำให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวสามารถกลับมาทำงานประณีตได้ดังเดิม และมีสวัสดิการในอาชีพที่ดีขึ้นกว่ารับงานเอง

ปักจิตปักใจ
ผ้าปักโดยชุมชนผู้พิการทางสายตา โครงการนี้บริหารงานโดยสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสร้างขีดความสามารถของชุมชนรวมทั้งจัดหาสิ่งพิเศษให้กับพวกเขา แหล่งที่มาของรายได้ประมาณ 65% ของราคาสินค้าจะตกเป็นของสมาชิกในชุมชนโดยตรง
Folkcharm
ผ้าฝ้ายทอมือ กรรมวิธีทอมือและเทคนิคการย้อมสีจากธรรมชาติในท้องถิ่น เส้นใยเป็นออร์แกนิก 100% และมาจากท้องถิ่นซึ่งให้ความสบายตามธรรมชาติและความอ่อนโยนต่อผิวบอบบาง ยอดขายประมาณ 50% จะส่งตรงถึงผู้ผลิต
Heartist
ออกแบบและทอผ้าโดยคนพิการทางการเรียนรู้ภายใต้โครงการอรุโณทัยเพื่อเด็กมีความต้องการพิเศษและโรงเรียนอุบลปัญญานุกูล จังหวัดอุบลราชธานี แต่ละชิ้นบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่เหมือนใครซึ่งแปลในรูปแบบที่ไม่สามารถทำซ้ำได้
คู่ค้าของเรา

.jpg)

พาร์ทเนอร์ของเรา
.png)



.png)
